วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551

พิพาทเขาพระวิหาร “เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพฯ แต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน”...

จากนั้นเขาจึงอธิบายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญและสัมพันธภาพในพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง และอาจพูดได้ว่ายากเหลือเกินเสียแล้วที่ทุกอย่างะกลับมาเหมือนวันเก่าๆได้อีก

“เขามากันประมาณ 30 คน” นายอุบลเดช เล่าถึงกลุ่มธรรมยาตราซึ่งเป็นปีกหนึ่งในเครือข่ายของพันธมิตรฯ ที่ล่วงหน้ามาก่อนพันธมิตรฯ ราวหนึ่งเดือนและเป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาทำให้สถานการณ์ในพื้นที่เขม็งตัวขึ้น

“ตอนนั้นเป็นปลายเดือนกรกฎาคม มีการปิดเขาพระวิหารไม่ให้คนขึ้นแล้ว เราตกลงกันว่าไม่อยากให้ธรรมยาตราขึ้นไปบนเขาเพราะจะทะเลาะเบาะแว้งกับเขมร เขารับคำตกลงของเราแต่ไม่ทำตามและได้ปีนรั้วข้ามกำแพงไป จนกลายเป็นประเด็นใหญ่ที่ทำให้ทหารทั้ง 2 ฝ่ายต้องมาตรึงกำลังกัน นี่เป็นชนวน” เขาเล่าและกล่าวไปเรื่อยๆต่อไปว่า

“เมื่อความตึงเครียดมากขึ้น พันธมิตรฯก็เข้ามา พวกผมชาวบ้านไปดันไว้ไม่อยากให้ขึ้นเขาพระวิหารเพราะกลัวจะเกิดเรื่องใหญ่ โดยไม่รู้ว่าเขาจะมารุนแรง เราก็มาแบบชาวบ้านธรรมดา เป็นพ่อค้าแม่ค้าประมาณ 200 คน แต่พันธมิตรมีทั้งเครื่องเสียง เสาธง และรถบัสประมาณ 20 คัน รถเก๋งอีกรวมรถแล้วประมาณ 200 กว่าคัน

“..เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพแต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน ถ้าเขายิงมาพวกผมก็รับเต็มๆ” นายอุบลเดชกล่าวและบอกถึงความรู้สึกตอนนั้นว่า ไม่คิดว่าทางพันธมิตรฯจะมาแบบรุนแรงและโกรธกับข้อหาว่า ‘ไม่รักชาติ’ ซึ่งไม่สามารถทำอะไรไม่ได้

“เราต่อต้านเขาด้วยความรักชาติเหมือนกัน ถ้าเราไม่รักชาติเราปล่อยภูมิซรอลทิ้งไปแล้ว เพราะรักถึงอยู่ตอนที่เขมรแดงมาไล่ยิง ความสัมพันธ์ของสองประเทศก็กังวลว่าจะกลับสู่สมัยอดีต สมัยก่อนสามโมงต้องกินข้าว เข้าหลุมนอนแล้วเงียบ บนบ้านบนถนนไม่มีใครเดิน แต่เราไม่เคยคิดย้ายออก พ่อแม่เราทำมาหากินที่นี่มา แต่พวกเจ้าหน้าที่เขาหนีไปอยู่กันที่บ้านน้ำเย็น อำเภอกันทรลักษณ์ แต่ชาวบ้านสู้ ไม่หนี จะเป็นอย่างไรก็เป็น ถ้าหนีคือทิ้งให้หมู่บ้านร้างไม่มีที่ทำมาหากิน แต่ตอนนี้เราสงบดีแล้ว ทำมาหากินดีแล้ว เขามาทำให้พวกเราเดือดร้อน”

...

ตัดจากบทสัมภาษณ์ นายอุบลเดช พานพบ คนพื้นเพที่บ้านภูมิซรอล โดย ภาพันธ์ รักษ์ศรีทอง

ที่มา : รายงาน : พิพาทเขาพระวิหาร “เขาทำตรงนั้นแล้วกลับกรุงเทพฯ แต่พวกผมต้องอยู่หลบลูกปืน” via http://www.prachatai.com

...

ขออนุญาตไม่ใส่ความเห็นส่วนตัว...

ไม่มีความคิดเห็น:

15 ตัวอย่างการตลาดที่ผิดพลาดของแบรนด์ใหญ่

1. Hoover: โปรโมชั่น "บินฟรี" ที่ล้มเหลว (1992) ที่มา: Hoover ต้องการกระตุ้นยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกต่ำในยุโรป จึงเสนอโปรโมชั่น ...