Update 24/12/2567
.......
จนถึงวันนี้ เว็บไซต์ของราชบัณฑิตก็ยังไม่มีการอธิบายถึงคำนี้ ได้แต่ถาม ChatGPT ว่าตกลงใช้อะไรแน่ ก็ได้คำตอบมาว่า
คำที่ถูกต้องคือ "สมคำร่ำลือ" ซึ่งหมายถึง การที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นไปตามที่เคยมีการพูดถึงหรือร่ำลือกันมา โดยหมายถึงว่ามันมีคุณค่าหรือมีคุณสมบัติตามที่ผู้คนเคยพูดถึงกัน
คำว่า "สมคำเล่าลือ" ไม่ใช่รูปแบบที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทย
ผมค้นจากพจนานุกรม ราชบัณฑิต พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
ร่ำ ๑
(๑) ก. พูดซํ้า ๆ, พรํ่า, เช่น ร่ำว่า ร่ำสั่ง ร่ำสอน
(๒) ก. ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.
(๒) ก. ตีแรง ๆ เช่น รํ่าด้วยไม้.
ลูกคำของ "ร่ำ ๑" คือ
ร่ำ ๒
ก. อบ, ปรุง, เช่น ร่ำแป้ง ร่ำผ้า.
เล่าลือ
ก. แพร่ข่าวกันแซ่ เช่น เขาเล่าลือกันว่าจะเกิดน้ำท่วมใหญ่.
แม่คำของ "เล่าลือ" คือ
ที่เหลือก็แล้วแต่จะพิจารณากันครับ...
.......
Old blog - 16/2/2551
"สมคำเล่าลือ"
ในตอนแรก ผมจะใช้คำว่า สมคำร่ำลือ
เพราะมันชินปากคุ้นหูมากกว่า
แต่เพราะสับสนว่ามันเขียนว่า ร่ำลือ หรือ ล่ำลือ กันแน่
ผมเลยพยายามหาจาก google ก่อน
ก็พบว่า มีการใช้คำว่า ร่ำลือ และ ล่ำลือ ทั้งสองคำพอๆกัน
ดังนั้น ที่พึ่งสุดท้าย ก็คือราชบัณฑิต
http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp
ผมลองหาดูแล้ว
ร่ำลือ ไม่พบ
ล่ำลือ ไม่พบ
ดังนั้นสองคำนี้ไม่มีในพจนานุกรม
หรืออีกนัยหนึ่ง มันเป็นคำที่เพี้ยนมาจากการใช้ของเราเอง
คำที่ถูกต้องคือ เล่าลือ ครับ
คาดว่า คงจะเพี้ยนไปจากการพูดชุดคำว่า "สมคำเล่าลือ"
พอเจอพยางค์ "คำ" แล้วต่อด้วย "เล่า"
คนที่ปากไม่คล่อง ก็จะพูดผิด จากเล่า กลายเป็น ล่ำ ไปซะงั้น
จนกลายมาเป็นคำติดปากแบบพาสะดวกว่า สมคำล่ำลือ ไปเสีย
ทั้งๆที่ความจริง ต้องใช้ว่า สมคำเล่าลือ
ซึ่งผมว่า มันแปลออกได้ทุกพยางค์ และน่าจะถูกต้องกว่า
ต่อไปนี้ผมจะใช้คำว่า เล่าลือ ให้ชินก็แล้วกัน
ปล. อันนี้มาจากการคิดเองเออเอง ถ้านักภาษาศาสตร์เห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ขอคำแนะนำด้วยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เชิญแสดงความคิดเห็น