วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

รายชื่อสินค้าต้องสงสัยว่ามีนมผงปนเปื้อนเมลามีน...

  1. คอฟฟี่ โอทมีล แครกเกอร์ (ขนมปังกรอบและข้าวโอ๊ตรสกาแฟตราเหมาฮวด) นำเข้าโดยบริษัท พีอาร์ อิมเพ็ก
  2. เวเฟอร์ สติก ไวท์ ช็อกโกแลตขาว เครื่องหมายการค้าโอริโอ นำเข้าโดยบริษัท ดีทแฮล์ม จำกัด
  3. ช็อกโกแลตนม ตราโดฟ นำเข้าโดยบริษัท มาร์สไทยแลนด์อิงค์
  4. ช็อกโกแลตนมเคลือบน้ำตาลสีต่างๆ ตราเอ็มแอนด์เอ็ม จากบริษัท มาร์ส
  5. ถั่วลิสงคาราเมลและนูกัตเคลือบช็อกโกแลตนม ตราสนิกเกอร์ บริษัท มาร์ส
  6. เมนทอสโยเกิร์ตมิกซ์ (ลูกอมรสโยเกิร์ตกลิ่นผลไม้รวม) นำเข้าโดยบริษัท ซีโน-แปซิฟิก เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด

หวั่นเจอสารมรณะ “เมลามีน” สธ.สั่งเก็บผลิตภัณฑ์ผสมนม 6 ชนิดออกจากร้านทันที via manager

...

ไปเจอจาก blog ของคุณ shuu ครับ
ผลของตรรกะ "มึงมีอะไรก็แดรกๆไปเถอะ อย่าดัดจริตนัก"

เลยไปลากเนื้อหาตรงที่อยากรู้มาจาก manager เอา

เมื่อวานผมนั่งหาข้อมูลจากเว็บของ อย.
http://www.fda.moph.go.th/

จะบ้าตาย หายังไงก็ไม่เจอรายการสินค้าต้องสงสัย
เจอแต่ประกาศบ้าบอไร้สาระ บอกแค่ว่าให้สังเกตสัญลักษณ์ อย. ก่อนกิน

เออ รู้แล้ว... อันนั้นน่ะ ใครก็รู้ไม่ต้องบอก
ไอ้ที่ชาวบ้านอยากรู้น่ะ ป่านนี้ยังไม่มีแปะที่เว็บเลย

ช่วย update ข้อมูลให้เร็วทันเหตุการณ์กว่านี้
และก็ช่วยเลิกใช้ pdf อย่างเดียว เสียทีเถิด มันเปิดอ่านยาก

...

ตัวผมเอง ชอบกินชอคโกแลต
เลยเจอไปแล้วสองตัวคือ m&m กับ snickers ที่ซื้อกินเมื่อไม่นาน

พยายามรอผลการตรวจสอบอยู่ว่ามีเมลามีนอยู่หรือไม่
ถ้าไม่มีจะได้ เฮ้อ รอดตัวไป...

...

เอาเข้าจริง ผมไม่ค่อยกลัวรายใหญ่ๆ ที่ตรวจสอบที่มาที่ไปได้หรอกครับ
แต่ผมกลัวรายย่อยๆ ที่ไปแอบนำเข้านมผงจากจีนมาเอง เพราะไม่ติด FTA ต่างหาก

ใครจะไปรู้ว่าตั้งแต่เรื่องยังไม่แดง มีการนำเข้ามาผลิตสินค้าแล้วเท่าไหร่
โดยเฉพาะพ่อค้าไทยน่ะตัวดี ชอบไปสรรหาวัตถุดิบถูกๆ จากจีนเสียด้วย

คุยกับคนที่ทำงานใน lab ของโรงงานอาหาร
เขาว่าปกติเขาไม่ตรวจสอบสารประหลาดอย่างเมลามีนกันหรอก

เขาก็ตรวจสอบพวกสารพิษหลักๆ เช่นสารหนู ปรอท ตะกั่ว ฯลฯ
เพราะการทดสอบต้องเลือกว่าจะตรวจหาอะไร มันสุ่มหว่านแหไม่ได้
และค่าใช้จ่ายในการตรวจแต่ละอย่างก็ไม่ใช่ถูกๆด้วย

ดังนั้น รอดสารบางอย่าง ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสารบางอย่างนะครับ
ก็เลยกลายเป็นว่า เราต้องฝากความหวังและชีวิตไว้กับคุณธรรมของผู้ผลิตวัตถุดิบเท่านั้น

พักนี้เลยแหยงๆ กลัวผลิตภันฑ์ที่มีส่วนผสมของนมไปซักพัก
รอให้ผลการตรวจสอบมันออกมาก่อนจะดีกว่า

ตอนนี้ติดหรูครับ กินแต่ของยุโรป... =_="

ไม่มีความคิดเห็น:

15 ตัวอย่างการตลาดที่ผิดพลาดของแบรนด์ใหญ่

1. Hoover: โปรโมชั่น "บินฟรี" ที่ล้มเหลว (1992) ที่มา: Hoover ต้องการกระตุ้นยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกต่ำในยุโรป จึงเสนอโปรโมชั่น ...