จ้างกก.ค่าจ้างมีมติปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อแต่ละจังหวัด
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2551 15:20 น.
นายจุฑาธวัช อินทรสุขศรี ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการค่าจ้าง เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างในวันนี้ ว่า มติของที่ประชุมเห็นพ้องตรงกันว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดย เพิ่ม 9 บาททั่วประเทศ ตามที่กลุ่มผู้ใช้แรงงานเรียกร้องนั้น ทำไม่ได้ เนื่องจากสภาวะเงินเฟ้อของแต่ละจังหวัดไม่เท่าเทียมกัน ทั้งนี้ จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มสูงสุดอยู่ที่ตัวเลข 11 บาท คือ จ.เชียงราย ขณะที่จังหวัดที่มีการปรับเพิ่มต่ำสุด คือ 2 บาท มี 3 จังหวัด คือ จ.สุโขทัย อุตรดิตถ์ และชัยภูมิ
ส่วนกรุงเทพมหานคร และอีก 8 จังหวัด คือ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี สระบุรี อุบลราชธานี และเชียงใหม่ มีการปรับเพิ่ม 9 บาท ส่วนจังหวัดที่เหลืออีก 63 จังหวัด ปรับขึ้นตามสัดส่วน 7 - 8 บาท อย่างไรก็ตาม อัตราค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายนนี้ เป็นต้นไป
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9510000051574
.
ส่วนอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด
สามารถดูได้จากเว็บของกระทรวงแรงงาน
http://www.mol.go.th/statistic_01.html
ตารางแสดงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ ซึ่งได้ประกาศให้มีผลใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑
ค่าจ้างขั้นต่ำ - พื้นที่
194 - กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
193 - ภูเก็ต
175 - ชลบุรี
170 - สระบุรี
165 - ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา พระนครศรีอยุธยา และระยอง
.
ยกมาให้ดู 5 อันดับแรกก็พอ
ผมกำลังงงว่า ตกลงเขาเพิ่งประกาศค่าแรงใหม่ไปเมื่อปีใหม่
แล้วที่เรียกร้องอยู่นี่คือต้องการให้เพิ่มอีกระรอกใช่ไหมครับ...
แล้วที่ตกลงวันนี้ คือจะเพิ่มเข้าไปจากที่ประกาศอยู่แล้วเข้าไปอีก???
.
ในฐานะที่ผมเองก็กินเงินเดือน ไม่ใช่ว่าไม่อยากได้เงินเพิ่ม
แต่อยากให้มองในมุมของผู้ประกอบกิจการกันบ้าง
คิดแบบง่ายๆ เลยนะครับ ด้วยเหตุผลแบบเด็กอนุบาล
ถ้าต้องขึ้นค่าจ้าง ต่อให้แค่คนละ 9 บาท
ดังนั้นค่าจ้างต่อคนต่อเดือน สมมุติทำแบบไม่หยุด ก็จะเป็น 9*30 = 270 บาท
และถ้ามีพนักงานอยู่ซัก 200 คน ก็จะมีรายจ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 270*200 = 54,000 บาท
ไม่รวมโอที และเงินพิเศษอื่นๆ...
ค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าแรง เพิ่มขึ้น 54,000 บาท
โดยที่รายรับเท่าเดิม หรืออาจจะลดลง
โดยที่ไม่มีอะไรรับประกันว่า ขึ้นค่าจ้างแล้ว จะได้ผลงานและผลผลิตที่ดีขึ้น มากขึ้น
ดังนั้น 9 บาทไม่ใช่เรื่องล้อเล่น...
ในขณะเดียวกัน วัตถุดิบ ก็ขึ้นราคาทุกอย่าง
พนักงาน : ข้าวแกงขึ้นจานละ 5 บาท วันหนึ่ง 3 มื้อ 15 บาท เดือนหนึ่ง 450 บาท
กิจการ : แต่วัตถุดิบ ขึ้นทีละหน่อยก็จริง แต่ด้วยปริมาณการซื้อ ลอตนึง บางทีขึ้นมาเป็นแสน...
งานนี้ใครรับครับ...
ปิดตาปิดหูตอบ ก็ต้องตอบว่าผู้ประกอบการ
เพราะขึ้นค่าแรง ผู้ประกอบการจ่าย
วัตถุดิบขึ้นราคา ผู้ประกอบการจ่าย
เศรษฐกิจตกต่ำขายของตัดราคา ผู้ประกอบการจ่าย
สุดท้ายใครได้อะไร...
สุดท้ายผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้.... เจ๊ง ปิดกิจการ
ลูกจ้าง ก็ต้องลอยแพ บ้านใครบ้านมัน...
ลูกจ้าง ได้หางานทำใหม่ต่อไป อย่างมากก็เริ่มต้นที่ 0 ใหม่...
นายจ้าง ได้เป็นหนี้ซักสิบยี่สิบล้าน... โดนฟ้อง โดนทวงหนี้...
.
เศรษฐกิจแบบนี้ ถ้าไม่เจ๋งจริง อย่าคิดทำกิจการครับ...
เจ๊งแล้วปิดอย่างสง่างามไม่ได้ครับ
ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างด้วย...
ถ้าโรงงานที่เพิ่งปิดกิจการไปเมื่อวันก่อนมีโอกาสพูด เขาคงบอกว่า
"ถ้าผมมีเงินจ่ายค่าชดเชย 20 ล้าน ผมไม่ปิดกิจการหรอกครับ..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เชิญแสดงความคิดเห็น