วันอาทิตย์, มกราคม 13, 2551

เจ้าของสวนสยามท้อถูกรุมด่าประกาศขายทิ้ง5พันล้าน...

เจ้าของสวนสยามท้อถูกรุมด่าประกาศขายทิ้ง5พันล้าน
13 มกราคม 2551 19:31 น.

เจ้าของสวนสยามท้อ! ถูกพ่อแม่เด็กรุมด่า ประกาศขายทิ้งเครื่องเล่นรวมที่ดิน 5 พันล้าน ระบุเศรษฐีเวียดนาม-ลาวสนใจซื้อ พนักงานกว่า 300 ชีวิตส่อเค้าตกงาน ด้าน ตร.เร่งสอบเอาผิดฐานประมาท หลังพบรางไฟเบอร์เปื่อยต้นตออุบัติเหตุ "อภิรักษ์" เตรียมหารือนายกฯ เร่งออกกฎหมายล้อมคอก ขณะที่นักเที่ยวลดฮวบหวั่นซ้ำรอย

เจ้าของสวนสยามท้อถูกรุมด่าประกาศขายทิ้ง5พันล้าน

เจ้าของ'สวนสยาม'ประกาศขายสวนสนุก5พันล้าน

.

ท่าทางว่านี่อาจจะเป็นผลสรุปของปัญหานี้นะครับ...

หลังจากเกิดอุบัติเหตุติดๆกันสองครั้ง

โดยครั้งก่อนคือวันที่ 23 ตุลาคม 2550
เกิดกับเครื่องเล่น อินเดียน่า ล็อค หรือ ล่องแก่ง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=8341&catid=17

หลังจากข่าวเงียบไปไม่นาน ก็มาเกิดอีกกับเครื่องเล่น ซุปเปอร์ สไปรัล
เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2551 หรือวันเด็กที่ผ่านมา...

.

ถ้ามองในมุมผู้บริโภค งานนี้สวนสยามเป็นผู้ร้ายครับ
คือไม่ดูแลเครื่องเล่นให้ดี มีปัญหาซ้ำซาก สมควรโดนสั่งปิด

แต่ผมอยากมองในมุมของคนที่ทำธุรกิจ
โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำมายาวนานกว่า 26 ปี

26 ปี เกือบจะเท่าๆกับอายุของผมนี่แหละ...

โลกนี้ช่างโหดร้ายนัก ท่ามกลางสารพัดปัญหาทางธุรกิจมากมาย

แค่ผมเล่นเกมบริหารสวนสนุก ผมก็ปวดหัวจะแย่แล้ว
แต่นี่มันคือชีวิตจริง เงินจริงๆ ความรับผิดชอบจริงๆ

ทั้งชีวิตลูกน้อง ชีวิตลูกค้าอีกหลายร้อยคน
เป็นเหมือนเกมที่เล่นพลาดไม่ได้ เพราะเริ่มใหม่ไม่ได้ และไม่มีคนให้อภัย...

ชีวิตของคนคนหนึ่ง ที่เฝ้ามองสถานที่ที่หนึ่ง ค่อยๆเติบโต
ค่อยๆมีสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น มีคนมากมายเข้ามาและออกไป

มันเหมือนการเฝ้าดูชีวิตอีกชีวิตหนึ่งที่เติบโตขึ้น
เหมือนเป็นลูกสาวหรือลูกชายตัวใหญ่ๆ ที่ทั้งรัก ทั้งผูกพัน และเป็นห่วง...

แน่นอนว่า กิจการไม่มีอายุ ธุรกิจแก่ไม่ได้
แต่คนนั้น มีแก่ มีชรา มีเสื่อม มีถอย...

ธุรกิจบางอย่างเกิดขึ้นและอยู่มาได้นับร้อยปี
นั่นเพราะวิญญาณของกิจการนั้นยังอยู่ แต่เปลี่ยนผู้บริหารมาเรื่อยๆ
จนบางกิจการ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น เปลี่ยนคณะกรรมการไปเรื่อย
ผู้บริหารชุดเก่ากับชุดใหม่ไม่ใช่ญาติกันเลยก็มี
แต่ชื่อของธุรกิจก็ยังอยู่

นั่นก็เป็นการทำธุรกิจในรูปแบบหนึ่ง...

ถึงมันจะดี แต่ผมก็ไม่ค่อยชอบนัก
ผมยังมีความรู้สึกว่าธุรกิจที่ส่งต่อกันรุ่นต่อรุ่น
จากพ่อสู่ลูก จากลูกสู่หลาน มันมีความ "ขลัง" ในแบบของมันอยู่...

แต่โดยมาก ธุรกิจมักจะส่งผ่านกันได้แค่รุ่นลูก
หรืออยู่แค่รุ่นพ่อแล้วก็ต้องจบไป
ซึ่งมีอยู่มากมาย จนถือเป็นเรื่องปกติ...

ซึ่งมักจะเป็นปัญหาด้านการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย
เพราะผู้บริหารคนเดิม วิธีการเดิม มักจะใช้ได้แค่ในช่วงเวลาหนึ่งๆ

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยน ตลาดก็เปลี่ยน คู่แข่งก็เปลี่ยน
บางครั้งคนรุ่นพอ่ ก็เริ่มจะปรับตัวไม่ทัน หรือไฟในตัวก็น้อยเกินกว่าจะสู้ไหว...

และถ้าผู้รับช่วงต่อ ก็ขาดเชื้อไฟที่ดี ที่จะรับช่วงต่อ
แน่นอนว่า กิจการนั้นก็มักจะไปไม่รอด...

.

ในชีวิตนักธุรกิจ ไม่มีอะไรเสียใจเท่ากับ
กิจการ ที่เปรียบเหมือนลูกที่เลี้ยงมากับมือ ต้องมาตายลงต่อหน้า

ยิ่งทำนาน ยิ่งผูกพัน ยิ่งรัก เวลาจากก็ยิ่งเศร้า

ถึงลูกมันจะเริ่มเกเร เริ่มสร้างปัญหา
แต่พ่อกับลูกก็ตัดกันไม่ขาด อะไรแบบนั้น...

ผมเชื่อว่าไม่มีใครยอมปล่อยให้ลูกตายไปโดยไม่ช่วยอะไร

มันต้องมีเหตุผลอะไรสักอย่างที่ซ่อนอยู่
แต่ด้วยความที่เราเป็นคนนอก เราก็เลยไม่รู้...

นี่อาจจะเป็นโอกาสอันดีที่จะถอยออกจากธุรกิจนี้
ถึงจะเป็นก้าวที่ไม่สวยนัก สำหรับนายชัยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ

หนึ่งในชื่อที่ต้องถูกจดจำในวงการสวนสนุกเมืองไทย...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เชิญแสดงความคิดเห็น