วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คนเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดี...

กำลังคิดว่า ทำไมเนื้อคนมันขายไม่ได้

ศึกษาการเลี้ยงหมูและราคาขายดูแล้ว

การเลี้ยงสุกร via กรมปศุสัตว์

การเลี้ยงสัตว์ via กรมปศุสัตว์

หมูหนึ่งตัว เลี้ยงไม่นาน แค่ราวๆ 4-6 เดือน ก็พร้อมขาย
อาหารก็ถูกกินพืชผัก อาหารเสริม ไม่ต้องกินซูชิ คาเวียร์ เหมือนคน

ดูราคาขายสุกรมีชีวิต

สุกรมีชีวิต   มีผลผลิตออกสู่ตลาดตามปกติ แต่ขนาดสุกรที่นําออกจําหน่ายมีทั้งสุกรที่มีขนาดใหญ่น้ําหนักเกิน 100 กก. และน้ําหนักต่ํากว่า 100 กก. ซึ่งผู้เลี้ยงได้ระบายออกสูตลาดเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงและลดความเสี่ยงของราคาที่มีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่กําลังซื้อของผู้บริโภคลดลง  มีผลทําให้ระดับราคาสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรอ่อนตัวลงแต่ยังอยู่ในเกณฑ์สูง โดยราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ ณ 20 มิถุนายน  2551  เฉลี่ย กก.ละ 53 - 54 บาท  ลดลงจากเดือนที่ผ่านมาที่มีราคา กก.ละ 54 - 56 บาท  อนึ่ง กระทรวงพาณิชย์ได้ขยายเวลาการดําเนินมาตรการ “หมูพาณิชย์” ไปถึงสิ้นเดือนมิถุนายน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้ประชาชน  แนวโน้มราคาอาจจะอ่อนตัวลงอีกเล็กน้อย ตามภาวะเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

สถานการณ์และแนวโน้มสินค้าเกษตร via กรมการค้าภายใน

จึงประมาณได้ว่า หมูหนึ่งตัว ขายได้ราว 5,400 บาท
เสร็จแล้วก็เอามาแยกชิ้นส่วน ขายได้ทุกส่วน ถูกแพงว่าไป...

...

ถ้าเป็นคนล่ะ...

คนใช้เวลาเลี้ยงนานกว่ามาก กว่ามันจะโตเต็มวัย ปาเข้าไปเป็นสิบปี
แถมกินก็เปลือง เลี้ยงก็ยาก ขี้โรค เอาแต่ใจสารพัด

ถ้าโตจนถึงวัยรุ่น ก็จะมีน้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม
ต่อให้ขายได้กิโลกรัมละ 500 ให้ราคาแพงกว่าปลาบึกด้วย
ก็ขายได้แค่ 25,000 บาทต่อตัว

เลี้ยงสิบกว่าปี ขายได้แค่ 25,000 นับว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน

มิน่า ถึงไม่มีใครเลี้ยงคนขายเนื้อ...

ส่วนใหญ่จะไปจับตัวเต็มวัยมาเลี้ยงไว้ใช้งานมากกว่า
นัยว่าจะประหยัดกว่าการเลี้ยงตั้งแต่ยังเด็กอยู่มาก

แถมสามารถฝึกใช้งานได้สารพัด แล้วแต่จะหัดให้ทำ
หรือต่อให้ไม่มีความรู้อะไรเลย ก็ยังมีคนจ้างเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะบางอย่างได้

...

สรุปว่า เราไม่ควรเลี้ยงคนตั้งแต่ยังเด็ก เพราะสิ้นเปลือง
ไม่สามารถขายเนื้อได้เพราะไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

สามารถใช้เป็นแรงงานได้อย่างเดียว
ถ้าจะลงทุน ควรจัดหาตัวเต็มวัยมาใช้งานเลยนั่นเอง...

ไม่มีความคิดเห็น:

15 ตัวอย่างการตลาดที่ผิดพลาดของแบรนด์ใหญ่

1. Hoover: โปรโมชั่น "บินฟรี" ที่ล้มเหลว (1992) ที่มา: Hoover ต้องการกระตุ้นยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกต่ำในยุโรป จึงเสนอโปรโมชั่น ...