วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 21, 2552

‘ฮัทช์’ขายทิ้งซีดีเอ็มเอ... [news]

‘ฮัทช์’ขายทิ้งซีดีเอ็มเอ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

โพสต์ทูเดย์ — ฮัทช์ถอดใจ เตรียมม้วนเสื่อกลับฮ่องกง หลังซีดีเอ็มเอไม่รุ่ง กสทฯ เล็งซื้อ พัฒนาสู่เครือข่ายเอชเอสพีเอ

รายงานข่าวจากบริษัท กสท โทรคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้ทาง ฮัทชิสัน อินเตอร์เนชั่นแนล เตรียมขายบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย ผู้ได้รับสิทธิทำการตลาด ซีดีเอ็มเอ ภายใต้แบรนด์ ฮัทช์ ให้กับบริษัท กสท โทรคมนาคม และไม่มีแผนที่จะทำธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยอีก หลังจากระบบ ซีดีเอ็มเอ ไม่ประสบความสำเร็จ

ทั้งนี้ กสทฯ ได้ให้ฮัทช์เป็นผู้ทำตลาดซีดีเอ็มเอในภาคกลาง 25 จังหวัด มาตั้งแต่ปี 2545 ปัจจุบันมีลูกค้าประมาณ 1.1 ล้านราย แต่ปัญหาคือซีดีเอ็มเอไม่ได้รับความนิยม และมีข้อจำกัดในการใช้งานสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ที่ใช้งานร่วมกับระบบอื่นไม่ได้ ส่งผลให้ฮัทช์ต้องรับภาระหรือซับซิไดซ์เครื่องโทรศัพท์ ให้กับลูกค้า และการไม่สามารถ เชื่อมต่อการใช้งานดาตา เช่น การส่งเอ็มเอ็มเอสไปยังระบบอื่น

แหล่งข่าวกล่าวว่า จากปัญหาดังกล่าวทำให้การใช้งานระบบ ซีดีเอ็มเอในประเทศไทย เติบโตลำบาก หากเทียบกับระบบจีเอสเอ็มของผู้ให้บริการมือถือ 3 รายที่เหลือ ดังนั้นหากฮัทช์ยังคงลงทุนต่อไปอีก ก็ไม่ได้ส่งผลดีใดๆ ทั้งสิ้น โดยทาง ผู้บริหารของฮัทช์ได้ตกลงที่จะขายให้กับกสทฯ แล้ว เหลือแต่ขั้นตอนการตกลงเรื่องราคาท่านั้น

ด้านนายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการเงิน บริษัท กสทฯ กล่าวว่า บอร์ดได้อนุมัติแผนการซื้อฮัทช์ตั้งแต่ปีก่อน ซึ่งทางกสทฯ อยู่ระหว่างการคำนวณราคาเบื้องต้น ไม่ควรต่ำกว่า 6,000 ล้านบาท เพราะต้องคำนวณจากรายได้ของฮัทช์ปีละ 5,000 ล้านบาท รวมทั้งฐานลูกค้าที่มีอยู่เดิมด้วย

ทั้งนี้ นโยบายการซื้อฮัทช์นั้น ปรับเปลี่ยนมาจากแผนเดิมที่ให้ฮัทช์โอนโครงข่ายซีดีเอ็มเอให้กสทฯ ขณะที่ฮัทช์ได้ทำตลาดทั่วประเทศ แต่ติดเรื่องขั้นตอนการผ่านพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินงาน ในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ปี ดังนั้นการเปลี่ยนมาเป็นวิธีการซื้อฮัทช์เลย น่าจะไม่ติดปัญหาใดๆ

นายจิรายุทธ กล่าวว่า หากซื้อฮัทช์คืนมาแล้ว กสทฯ มีแผนที่จะเปลี่ยนโครงข่ายจากซีดีเอ็มเอ เป็นเอชเอสพีเอ แล้วให้เอกชนเช่า หรือหาพันธมิตรการตลาดรายใหม่ ซึ่งจะสร้างมูลค่าให้กับกสทฯ ได้มากกว่าการลงทุนซีดีเอ็มเอต่อไป เพราะการใช้งานไม่เป็นที่แพร่หลาย เมื่อเทียบกับทั่วโลกที่มีการใช้งานจีเอสเอ็ม 80% ยิ่งหากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้ไลเซนส์ 3จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์แล้ว ซีดีเอ็มเอก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ควรหาพันธมิตรต่างชาติเพื่อเข้าร่วมประมูลไลเซนส์ 3จี

http://www.posttoday.com/business.php?id=32664

...

ใกล้ปิดตำนานเต็มที สำหรับค่ายมือถือชื่อ Hutch
อีกหน่อยคงจะเหลือแต่ CAT หรือ กสท. ที่จะมาดูแลคลื่นนี้แทน

ในฐานะของคนที่ติดตามข่าวตั้งแต่ยังไม่เปิดตัว
ขอเล่าความหลังให้ฟังกันเล็กน้อย

ตอนก่อนเปิดตัว ผมตื่นเต้นมากกับการมาของ Hutch
เพราะด้วยความสามารถที่มากับเครื่องและเครือข่าย
ไม่ว่าจะเป็นการเปิดดูข่าว เช็คเมล์ เช็คข้อมูลได้จากมือถือ
ซึ่งตอนนั้น มือถือยังทำอะไรพวกนี้ไม่สะดวกอยู่เลย

ผมรอร๊อรอ จนราวสองสามปีก่อน ผมก็ได้ซื้อ Sanyo SCP-588 มาใช้
http://www.siamphone.com/catalog/sanyo/scp588.htm

ตอนนั้นน่าจะได้มาที่ราคาหกพันกว่าบาท
ยอมรับว่าเป็นเครื่องที่ใช้แล้วชอบมาก
ได้อ่านข่าว ดูผลหวย โหลดริงโทน ฯลฯ สบายๆ

เรียกว่า ถ้ามีเครื่องที่มันทำอะไรได้มากกว่านี้ออกมาอีก คงจะสนุกจริงๆ
แต่หลังจากนั้นปีกว่าๆ ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปหมด

Hutch เริ่มจับแต่ตลาดล่าง เอาเครื่องราคาถูกเข้ามาขาย
ลืมจุดเด่นของตัวเองหมดสิ้น เน้นขายแต่ voice service

ซึ่งผมเห็นว่า การเล่นตลาด mass แบบ play safe ของ Hutch
เป็นการฆ่าตัวตาย และทำลาย brand image ของตัวเองอย่างที่สุด

ซึ่งผมก็คงทำอะไรไม่ได้ คนทำธุรกิจระดับนั้น คงจะคิดอะไรรอบคอบดีแล้วถึงได้ทำ

จนวันนี้ ได้ข่าวว่ามันจะปิดตัว ในเวลาใกล้เคียงกับที่ผมกำลังจะปิดเบอร์ Hutch ทิ้ง

ก็ได้แต่เสียดาย...

ผมก็คิดของผมเพ้อเจ้อไปว่า ถ้าผมทำอะไรซักอย่าง

  • ผมจะยึดมั่นจุดเด่น จุดยืนของตัวเอง ไม่ไหลตามกระแส
  • ผมจะทำให้ดีที่สุด ไม่ครึ่งๆกลางๆ กั๊กๆ
  • ผมจะไม่ทำให้ลูกค้าเบื่อหน่ายภาพลักษณ์
  • ผมจะไม่ทำให้ลูกค้าผิดหวังที่ใช้สินค้าของผม

...

ลาก่อน Hutch

แล้วฉันจะคิดถึงเธอ...

Technorati Tags: ,,,

ไม่มีความคิดเห็น: