วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558

ทำไมนาคต้องแตะขอบประตู?

ใกล้งานบวชผมเต็มทีแล้วครับ อีก 4-5 วัน นี้เท่านั้นเอง
มีเรื่องน่าสนใจเกี่ยวกับการแห่นาครอบโบสถ์ และการยกนาคแตะขอบประตูโบสถ์​มาฝากให้อ่านกันครับ

« เมื่อ: ๒๔ มิ.ย. ๕๒, ๑๑:๐๒:๔๔ »
 
ระยะนี้ เข้าสู่เทศกาล งานบวชกันถี่ หน่อยนะครับ
สังเกตว่า เวลาไปช่วยงานหรือไปร่วมงานบวช ใกล้-ไกล มักจะได้พบเห็นวัฒนธรรมหรือความเชื่อประจำงานบวชที่คล้ายคลึงกัน จนหลายครั้งมีน้องๆ เพื่อนๆ ถามกันบ่อยๆ ว่า เขาทำแบบนั้นทำไมพี่ .. ??  
วัฒนธรรมหรือความเชื่อบางอย่างก็พอจะเดาออก บ้างอย่างก็ต้องทำตัวเป็น กบนอกกะลา ตามหาความจริงกันไป 
ลองมาดูทีละอย่างกันนะครับ
 
การแห่นาครอบโบสถ์
เห็นกันจนชินตาครับ กับการแห่นาครอบโบสถ์ ๓ รอบ 
ความหมายหรือเหตุผลที่พอจะเดาออกคงไม่ใช่ แห่เอาสนุึกหรือแห่รอแขกแน่ๆ
ที่เข้าใจกันส่วนมากก็คือ ให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แบบเดียวกันกับเวียนเทียน
เหตุผลนี้ คงได้รับอิทธิพลมาจากเมืองแขก ประเทศอินเดีย ที่เขาถือกัันว่า การเดินเวียนประทักษิณ(เวียนขวา) นั้น
เป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด ถ้าเป็นบ้านเราก็คงประมาณกราบแทบเท้า หรือวิ่งแก้บนรอบสนามหลวง 
 
เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือให้ นาคสำรวมจิตใจให้พร้อมก่อนเข้าขออุปสมบท ทบทวนเรื่องราวของชีวิต 
ไตร่ตรองถึงหน้าที่ของพระที่จะต้องน้อมนำมาปฎิบัติ ต่อไป
 
แต่มีเหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ลึกซึ่งเข้าไปอีก นั้นก็คือ การเวียนรอบโบสถฺ์เป็นอุบายสอนให้เห็นว่า......
ชีวิตคนเราล้วนเวียนตายเวียนเกิดในสงสารวัฎฎ์ คือ ใน กามภพ รูปภพ อรูปภพ วนเวียนแบบนี้ หลีกหนีได้ยาก
แต่สำหรับผู้บวชหรือพอนาค พอเดินเวียนครบ ๓ รอบ แล้วเดินเข้าสู่โบสถ์ ก็สอนให้เห็นว่า  ได้ค้นพบทางสว่างที่ไม่ต้องวนเวียนอีกแล้ว ทางสายใหม่ ที่เป็นเส้นทางพ้นทุกข์ คือการเข้าหาพระธรรม มุมมองนี้ ดูดีและทำให้เกิดปัญญามากที่สุด 
 
เหตุใดนาคจึงต้องวันทาเสมา
เมื่อแห่รอบโบสถ์ครบ ๓ รอบแล้ว ลำดับพิธีต่อไป คือ นาคจะต้องไปกราบวันทาเสมาหรือขอขมาเขตเสมา
ซึ่งเป็นเขตแดนต่อระหว่างพุทธอาณาจักรกับราชอาณาจักร เป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่และพระสงฆ์ที่ประชุมกันในโบสถ์
ความหมายอีกประการ คือ  การให้ผู้บวชไม่ว่าจะร่ำรวย เป็นลูกท่านหลายเธอมาจากไหน แสดงการอ่อนน้อม ยอมรับผิด เป็นอุบายลด ความเย่อหยิ่ง จองหอง ลดทิฎฐิมานะ กล้าปฎิญาณตน ขอขมาในความผิดทั้งหลาย
เหตุใจจึงห้ามเหยียบธรณีประตู
 
ประเพณีอย่างหนึ่งที่เห็นกันจนชินตา เวลาไปงานบวช คือ การที่พ่อของนาค และแม่ของนาคจะช่วยกันจูงมือนาคข้ามธรณีปะตู และมีเพื่อนๆ คอยอุ้มชูให้ลอยตัวข้ามธรณีประตูเข้ามาในโบสถ์
ความเชื่อในเรื่องนี้ โบราณถือกันว่า ถ้านาคหรือผู้บวชเหยียบธรณีประตู จะทำให้ตอนเป็นพระศีลไม่บริสุทธิ์ ด่างพรอย ย่อหย่อนต่อการบวช หรือไม่ก็แหกพรรษา ??
 
เหตุผลที่เป็นรูปธรรมก็คือ  การเหยีบธรณีประตูจะทำให้ รักทองหรือชาดที่ทาไว้ ชำรุด-เสียหาย
เพราะโบสถ์หลาย ๆ วัด โดยเฉพาะวัดหลวง ธรณีประตูจะมีการลงรักปิดทอง หรือทาชาด ไว้ให้สวยงาม ถ้านาคและผู้มาร่วมงานเหยียบย่ำกันทุกคน คงทำให้เกิดการชำรุด เสียหายได้
 
เหตุผลอื่นๆ ยังมีอีกมากมาย เช่น  เกรงว่านาคจะสะดุดธรณีประตูจนเกิดอุบัติเหตุ ไม่สามารถบวชได้
ธรณีประตูเป็นจุดที่มีนายทวารบาลหรือเทวดารักษาต้องแสดงความเคารพ
 
แต่เหตุผลในทางธรรม ที่เป็นอุบายสอนใจ คือ การที่ผู้บวชสามารถข้ามพ้นจากโลก 
ข้ามพ้นจากอำนาจกิเลส เข้าสู่พุทธอาณาจักร เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร์ ได้เกิดใหม่ในเพศสมณะ เป็นเครื่องสอนใจให้คนเรา ฝึกฝนตัวเราให้อยู่เหนือกิเลสในใจ
 
เหตุใดจึงต้องให้นาคเอามือแตะขอบประตูโบสถ์ด้านบนสุด
ในขณะที่นาคกำลังจะก้าวข้ามพ้นธรณีประตูนั้น บรรดาญาติพี่น้องและเพื่อนๆ จะบอกให้นาค ชูมือให้สุดไปแตะขอบประตูโบถ์ด้านบน ทั้งนี้บรรดาเพื่อนๆและผู้ร่วมงานต่างก็จะช่วยกันอุ้มชูให้นาคเอื้อมให้ถึงขอบประตู
ความเชื่อในเรื่องนี้ ว่ากันว่า ถ้านาคแตะขอบประตูโบถ์ด้านบนได้ จะทำให้ร่ำเรียนได้สูงสุด 
แตกฉานในพระธรรมวินัย  ต่อไปจะได้เป็นสมภารเจ้าวัด
 
ส่วนเหตุผลที่เป็นรูปธรรมนั้น ก็คือ ว่า ประตูโบสถ์บางแห่งไม่สูงมากนัก 
การอุ้มนาคเข้าโบสถ์อาจทำให้ศรีษะของนาคไปชนขอบประตู ทำให้ได้รับบาดเจ็บ จนทำให้ไม่สามารถบวชได้
เหตุผลในทางธรรมะ ยังไม่ชัดเจน แต่ได้รับการอธิบายจากท่านผู้รู้มาว่า เป็นการปฎิญานหรือแสดงให้เห็นว่า 
นาคจะบวชและตั้งใจปฎิบัติให้ได้บุญสูงสุด 
 
อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ การไปสู้พระนิพพานเหมือนจะไกลสุดมือเอื้อมถึง การเป็นจะไปให้ถึงต้องได้แรงหนุนจากคนรอบข้าง บ่งบอกว่า การไปสู่ที่สูง เราอาจไปคนเดียวไม่ได้ เก่งคนเดียวไปไม่รอด ต้องอาศัยพวกพ้องเพื่อนฝูง เจ้านาย คอยสนับสนุน ช่วยเหลือ
 
ดอกบัวของนาคที่วันทาเสมาเชื่อว่า ทำให้คลอดง่าย
ดอกบัวที่นาคพนมไว้ในมือตั้งแต่ตอนแห่รอบโบสถ์ จนถึงขณะวันทาเสมา เมื่อนาควางดอกบัวลงที่เสมาโบสถ์
จะมีผู้คนที่มาร่วมงานพากันแย่งดอกบัวนั้นไปให้ คนที่ท้องใกล้คลอดต้มน้ำดื่ม ด้วยความเชื่อว่า 
น้ำดอกบัวของนาคจะทำให้คลอดง่าย
จริงๆ ดอกบัวเป็นสมุนไฟรหรือยาบำรุงครรภ์อยู่้แล้วละครับ ไม่ต้องของนาคก็ดีแน่นอน
แต่ความเชื่อที่ว่าทำให้คลอดลูกง่ายนั้น คงเพราะ นาคเป็นผู้ว่าง่าย พ่อแม่อยากให้บวชก็บวช 
งานบวชก็สำเร็จได้โดยง่าย เป็นงานที่ใครได้ข่าวก็อยากมาช่วยอย่างเต็มใจ  ถ้าได้นำมาต้มน้ำดื่มกิน จะทำให้คลอดง่ายและเด็กทีเกิดมามีปัญญา ว่านอนสอนง่าย
 
ความเชื่อและวัฒนธรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่เราพบเห็นในงานบวช ล้วนแฝงความหมายที่ลึกซึ้ง
และเป็นความหมายที่สอนใจเราได้ดี มิใช่เป็นเพียงพิธีกรรม ที่ทำๆกันไป แบบงมงายหรือไร้ความหมาย แต่แสดงถึงภูมิปัญญาในการสอนธรรมะของคนโบราณได้อย่างลุ่มลึก และมีเหตุมีผล 
 
ไปงานบวชครั้งต่อไป ลองเก็บเกี่ยวแง่คิดดีๆ จาก ประเพณีที่น่ารักและน่าค้นหาเหล่านี้ กันให้ครบถ้วนนะครับ จะได้ทั้งบุญจากการบวชพระและบุญจากการมีสติ คิดเท่าทันธรรมะของพระพุทธเจ้า
 
ขออนุโมทนาบุญกับนาคทุกท่าน ที่จะบวชในพรรษานี้ และผู้ที่จะไปร่วมงานบวชทุกท่าน ขอให้ได้เสบียงบุญกันเต็มที่ครับผม
 
สาธุๆ 
 
----------------
 

15 ตัวอย่างการตลาดที่ผิดพลาดของแบรนด์ใหญ่

1. Hoover: โปรโมชั่น "บินฟรี" ที่ล้มเหลว (1992) ที่มา: Hoover ต้องการกระตุ้นยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ตกต่ำในยุโรป จึงเสนอโปรโมชั่น ...